เรียนขับรถ ภาคทฤษฎี

อ่านเนื้อหาทั้งหมดได้ที่ e-Textbook
 
++สรุปเนื้อหา++
ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก กฎหมายว่าด้วย รถยนต์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

+ ผู้ขับขี่ต้องมีสำเนาภาพทะเบียนรถใช้คู่กับใบอนุญาตขับรถ
+ การ โอนรถ/ย้ายรถ ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน
+ เมื่อใบอนุญาตขับรถสูญหาย/ชำรุดต้องยื่นขอรับใบแทนต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน
+ กรณีถูกพักใช้/เพิกถอนใบอนุญาตขับรถมีสิทธิอุทธรณ์ได้ภายใน 15 วัน
+ ใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราวมีอายุ 2 ปี
+ ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวเป็นประเภทส่วนบุคคลชนิด 5 ปี สามารถเปลี่ยนได้ล่วงหน้า 60 วัน

+ ใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคลชนิด 5 ปีต่ออายุล่วงหน้า 3 เดือน
+ รถที่ไม่เสียภาษีประจำปีภายในกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน
+ การเปลี่ยนสีรถต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 7 วัน
+ เมื่อกระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และได้รับคำสั่งผู้ตรวจการรถยนต์ให้ไปรายงานตัวผู้ขับรถจะต้องไปรายงานตัวต่อนายทะเบียนภายใน 7 วัน
+ รถยนต์ ที่มีอายุครบ 7 ปี ต้องนำไปตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
+ รถจักรยานยนต์ ที่มีอายุครบ 5 ปี ต้องนำไปตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
+ รถของกระทรวง ทบวง กรม เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุขาภิบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และราชการส่วนท้องถิ่นที่เรียกชื่ออย่างอื่น ทั้งนี้ เฉพาะรถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเว้นแต่ค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถมิได้ใช้ในทางการค้าหรือกำไร
+ รถบดของรัฐวิสาหกิจ/รถแทรกเตอร์ของรัฐวิสาหกิจ/รถของสภากาชาดไทย/รถของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต/รถดับเพลิงของ อบต.ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเว้นแต่ค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถ
+ ประสงค์จดทะเบียนรถต้องยื่นคำขอต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนา
+ รถยนต์ ไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม (ป้ายแดง) ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ขับได้ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก
+ รถที่ค้างชำระภาษีประจำปีติดต่อกันครบสามปี จะมีผลตามกฎหมาย คือ ทะเบียนระงับ
+ ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถยนต์ชั่วราวต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์
+ ผู้ใดขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถมีโทษ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
+ ผู้ใดขับรถโดยใบอนุญาตขับรถสิ้นอายุมีโทษ ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
+ ประกันภัยชนิด คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พรบ.) ใช้ประกอบการต่ออายุภาษีประจำปี
กฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก
+ การจอดรถต้องจอดให้ห่างจากขอบทางไม่เกิน 25 เซนติเมตร
+ การเลี้ยวรถต้องชะลอรถและเปิดไฟเลี้ยวก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร
+ การจะเลี้ยวซ้ายต้องขับรถในช่องเดินรถด้านซ้ายก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร
+ การให้สัญญาณไฟเลี้ยว จะต้องให้ผู้ขับรถคันอื่นเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร
+ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นขณะที่มีหมอก ฝุ่น ฝน หรือควัน จนไม่อาจเห็นทางข้างหน้าได้ในระยะ 60 เมตร
+ ต้องเปิดไฟหน้าหรือไฟท้ายรถ ให้รถคันอื่นเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร
+ บริเวณที่กฎหมายจราจรยอมให้ขับรถแซงรถคันอื่น เช่น ในกรณีที่ทางเดินรถด้านซ้ายมีสิ่งกีดขวาง  หรือในระยะ 150 เมตร จากทางร่วมทางแยก หรือแซงด้านซ้ายในขณะที่มีรถรอเลี้ยวขวา หรือบนพื้นทางที่มีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้
+ ในระยะ 150 เมตร จากทางราบของเชิงสะพาน ผู้ขับรถสามารถกลับรถได้โดยใช้ความระมัดระวังด้วย
+ การบรรทุกสิ่งของ ผู้ขับขี่ต้องบรรทุกยื่นพ้นตัวรถด้านหลังไม่เกิน 2.50 เมตร
+ เมื่อถึงทางรถไฟและมีรถไฟกำลังแล่นผ่าน ผู้ขับขี่ต้องหยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟไม่น้อยกว่า 5 เมตร  อย่าขับรถผ่านไปโดยเร็ว หรือให้เสียงสัญญาณแตรเตือนและขับผ่านไป และไม่จำเป็นต้องเปิดไฟฉุกเฉิน
+ เขตกรุงเทพ เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ผู้ขับรถตามกฎหมายรถยนต์ต้องขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
+ นอกเขตกรุงเทพ เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ผู้ขับรถตามกฎหมายรถยนต์ต้องขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
+ ผู้ขับรถที่ดื่มสุรา เมื่อวัดระดับแอลกอฮอล์ในลมหายใจจะต้องไม่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น ส่วนผู้ขับรถยนต์สาธารณะ ผู้ขับรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุก ขณะขับรถต้องมีระดับแอลกอฮอล์ในลมหายใจเท่ากับศูนย์เท่านั้น
+ ตรวจพบแอลกอฮอล์ในร่างกายเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับตั้งแต่ 5,000 ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
+ การขับรถสวนทางกัน ผู้ขับขี่ต้องให้ขับรถชิดด้านซ้าย
+ การหยุดรถบริเวณทางแยกผู้ขับขี่ต้องหยุดหลังเส้นแนวหยุด
+ บริเวณที่ห้ามแซง ได้แก่ บริเวณทางโค้งรัศมีแคบ  
+ บริเวณที่สามารถแซงได้ คือ บริเวณทางตรง  ทางโล่ง ทางที่ปลอดภัย(ถ้า เขตปลอดภัยห้ามแซง)
+ การขับรถแซงรถคันหน้าต้องแซงด้านขวามือ ยกเว้นกรณีที่เมื่อรถที่จะถูกแซงกำลังเลี้ยวขวา หรือให้สัญญาณว่าจะเลี้ยวขวา ผู้ขับขี่จึงสามารถแซงด้านซ้ายมือได้
+ รถที่สามารถนำมาใช้ในทางเดินรถได้ต้องเป็นรถที่มีเสียงเครื่องยนต์ดังในระดับ 80 เดซิเบล  ห้ามนำรถที่มีเสียงดังกว่าเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด รถที่มีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถ หรือรถที่มีล้อไม่ใช่ยาง มาใช้ในทาง
+ เมื่อพนักงานจราจรยืนและเหยียดแขนซ้ายออกไปเสมอระดับไหล่ ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาจากทางด้านหลังของพนักงานจราจรจะต้องหยุดรถ
+ เมื่อพนักงานจราจรยืนและเหยียดแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาจากทางด้านไหนของพนักงานจราจรจะต้องหยุดรถ
+ การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกที่มีสัญญาณจราจรไฟกระพริบสีแดง
+ ผู้ขับขี่ต้องหยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรจึงให้ขับรถต่อไปด้วยความระมัดระวัง
+ ผู้ขับขี่ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้าย ยกเว้นกรณีที่ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวาง
+ ผู้ขับขี่จึงจะสามารถเดินรถทางขวาหรือ ล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถได้
+ การให้สัญญาณด้วยแขน โดยผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกตัวรถเสมอระดับไหล่และโบกมือขึ้นลงหลายครั้ง หมายถึงผู้ขับขี่นั้นต้องการจะลดความเร็วของรถ

โรงเรียนสอนขับรถทดสอบข้อเขียนโรงเรียนสอนขับรถทดสอบข้อเขียนโรงเรียนสอนขับรถทดสอบข้อเขียนโรงเรียนสอนขับรถทดสอบข้อเขียน

การบำรุงรักษารถ

+ แบตเตอรี่ควรมีฉนวนหุ้มที่ขั้วบวก+++
+ สาเหตุไฟไม่ชาร์จเข้าแบตเตอรี่เกิดจากไดชาร์จชำรุดหรือสายพานไดชาร์จหย่อนหรือขาด
+ สาเหตุรถสตาร์ทไม่ติดเกิดจากแบตเตอรี่ไม่มีไฟ
+ การตรวจเช็กแบตเตอรี่แบบง่ายๆ ว่ามีไฟปกติหรือไม่ ควรบีบแตรและฟังเสียงว่าปกติหรือเบาลง
+ ถ้าขั้วแบตเตอรี่มีคราบขี้เกลือ วิธีการแก้ไขคือ ใช้น้ำอุ่นล้างและทาจาระบีที่ขั้วแบตเตอรี่
+ ในการถอดขั้วแบตเตอรี่ ควรถอดขั้วขั้วลบก่อน---
+ น้ำที่ใช้เติมในแบตเตอรี่ ควรใช้น้ำกลั่น
+ ขณะขับรถไฟเตือนสีแดงไม่ควรแสดงอยู่บนแผงหน้าปัด
+ คราบขี้เกลือที่ขั้วแบตเตอรี่เกิดจากสาเหตุน้ำกรดทำปฏิกิริยากับอากาศ
+ แบตเตอรี่รถยนต์จะมีขนาดแรงดันไฟฟ้า12 โวลท์
+ ไดสตาร์มีหน้าที่ทำให้เครื่องยนต์ติด
+ ความตึงของสายพานพัดลมและไดชาร์ทที่ถูกต้องควรมีระยะ 5-15 มิลลิเมตร
+ การเติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่ควรเติมให้ท่วมแผ่นธาตุประมาณ 1 นิ้ว
+ไดชาร์จทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้าในรถยนต์
+ ขั้นตอนก่อนตรวจเช็กและเติมระดับน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ ที่ถูกต้องควรจอดรถบนพื้นราบ เช็กน้ำมันขณะยังไม่ติดเครื่อง หรือดับเครื่องยนต์อย่างน้อย  10-15 นาที
+ การเติมลมยางที่ถูกต้องควรเติมลมยางในขณะที่ยางยังเย็นอยู่
+ โดยปกติการสลับยางควรสลับทุกๆ 10,000 กิโลเมตร
+ ยางมีหน้าที่ช่วยยึดเกาะถนนไม่ให้ลื่นไถล
+ การเปลี่ยนขนาดยางเล็กเกินไปจะเกิดผลเสีย คือทำให้ความสามารถในการรับน้ำหนักลดน้อยลง
+ การเปลี่ยนขนาดยางใหญ่เกินไปจะเกิดผลเสีย คือทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
+ การตรวจความตึงของสายพานควรใช้มือกดที่กึ่งกลางสายพาน
+ เบรกมือควรใช้เมื่อหยุดรถขณะติดดไฟแดง จอดรถบนทางลาดฃันหรือหยุดรถบนทางลาดชัน แต่ไม่ควรใช้เมื่อขับรถลงทางลาดชัน
+ ควรหลีกเลี่ยงการใช้เบรกอย่างรุนแรงเมื่ออยู่ทางโค้ง
+ สีของน้ำมันเบรกที่มีคุณภาพคือสีเหลืองใส
+ สีของน้ำมันเบรกที่เสื่อมสภาพคือสีดำ
+ เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถควรตรวจวัดระดับน้ำมันเครื่องยนต์อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
+ หม้อน้ำรถยนต์มีหน้าที่ระบายความร้อนของเครื่องยนต์
+ อุณหภูมิเครื่องยนต์ที่ทำงานปกติควรอยู่ระหว่าง 80 -95 องศาเซลเซียส
+ ถ้าเครื่องยนต์ร้อนจัดควรเติมน้ำเมื่อเครื่องยนต์เย็นลง เปิดฝากระโปรงเพื่อระบายความร้อน ปิดแอร์ เปิดหน้าต่างและจอดรถ  แต่ไม่ควรเอาน้ำราดลงไปที่เครื่องยนต์จะทำให้เครื่องยนต์เย็น
+ ถ้าพัดลมหม้อน้ำเสียจะทำให้อุณหภูมิของน้ำและเครื่องยนต์เพิ่มขึ้น
+ ไม่ควรเปิดฝาหม้อน้ำในกรณีเครื่องร้อนจัด
+ อุปกรณ์ที่จำเป็นควรมีไว้ติดรถ ได้แก่ แม่แรง ไฟฉาย อุปกรณ์ดับเพลิง ยางอะไหล่ เป็นต้น
+ หากจะเติมน้ำในถังพักหม้อน้ำ ไม่ควรเติมน้ำบาดาล
+ การตรวจสอบระบบไฟฟ้าในรถยนต์ ควรตรวจสอบไฟเลี้ยวซ้าย-ขวา และไฟหน้าสูงต่ำ-ไฟหรี่-ไฟเบรก-ไฟส่องป้ายทะเบียนรถ

Powered by MakeWebEasy.com